377 จำนวนผู้เข้าชม |
ประวัติพระครูสุนทรวุฒิคุณ หลวงพ่อพุฒ สุนฺทโร
หลวงพ่อพุฒเกิดที่บ้านบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีพี่น้อง5คนคือ
-นางสาวบุญรอด หาญสมัย
-นายพุฒ หาญสมัย (หลวงพ่อพุฒ สุนทโร)
-นางปุ่น นาคละมัย
-นายปั่น หาญสมัย
-นางบุญนาค กลั่นสนิท
หลวงพ่อพุฒได้รับการศึกษาเล่าเรียนมีความรู้ติดตัวมาจากวัดและจบชั้นประถม4ในเวลาต่อมา ครอบครัวของท่านมีอาชีพทำนาท่านจึงต้องช่วยบิดามารดาทำนา เมื่ออายุครบ20ปีได้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท ณ วัดบางพระ ต่อมาได้ลาสิกขาบทไปเป็นทาหรรักาพระองค์อยู่2ปี เมื่อครบกำหนดรับราชการทหารแล้วได้กลับมาช่วยบิดามารดาทำนาเช่นเดิมได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่1 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม ท่านได้ดูแลลูกบ้านจนมีความร่มเย้นเป้นสุขตลอดมาและได้ทำหน้าที่อยู่ 5ปีเต็ม จึงได้ขอลาออกจากผู้ใหญ่บ้าน ขออนุญาตบิดามารดาลาชีวติทางโลกเข้าสู่ร่วมกาสาวพัตรด้วยความศรัทธาในพระรัตนตรัย เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมวัดบางพระ เมื่อวันที่ เมษายน พ.ศ.2489 โดยมีหลวงพ่อหิ่ม วัดบางพระเป็นพระอุปัชฌาชย์ ซึ่งถือเป้นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านโดยได้รับฉายาว่า “สุนฺทโร”
มีความมุ่งมั่นในการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและเมื่อมีโอกาสจะศึกษาตำราต่างๆอาทิเช่นหนังสือขอม ตำรายาแผนโบราณ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาธรรมของท่านทำให้ท่านสอบได้นักธรมชั้นตรีและโทตามลำดับ ท่านเป้นผู้ฝักใฝ่ในการศึกษามีปัญญาดี มีความสามารถในการท่องจำและสวดมนต์อยู่ในระดับขั้นต้นๆของผู้ที่มีความสามารถ ทั้งยังมีความชำนาญในการเทศนาโวหารเป็นที่ยอมรับของคณะสงห์และสาธุชนทั่วไป ต่อมาท่านได้เห็นถึงความสำคัญของการปฎิบัติธรรมจึงเริ่มศึกษาหาความรู้ในเรื่องธุดงค์วัตรจนมีความเข้าใจและชำนาญ จึงเริ่มออกธุดงคืไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อเจิรญสมาธิธรรมกัมมัฎฐาน ต่อมาท่านได้ศึกษาตำรายาสมุนไพรจากหมอชาวบ้านในชุมชนต่างๆที่เป็นผู้มีความสามารถ เพื่อมาช่วยรักษาชาวบ้านในถิ่นทุระกันดารที่ห่างไกลหมอและยา จนต่อมาท่านได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆจากหลวงพ่อแช่มวัดตาก้อง หลวงพ่อน้อยวัดศรีษะทอง หลวงพ่อกี๋วัดหูช้าง และหลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว
หลังจากที่ได้รับการบรรพชาอุปสมบทและมีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยตลอดจนวิทยาคมต่างๆรวมทั้งการออกรุกขมูล(ธุดงค์) เมื่อพรรษได้6พรรษาในปีพ.ศ.2494 เจ้าอาวาสองค์ที่6ของวัดกลางบางพระได้มรณะภาพลง คณะสงฆ์และชาวบ้านได้มีมติให้หลวงพ่อพุฒขึ้นดำรงตำแหน่งเป้นเจ้าอาวาสองคที่๗สืบต่อมา
หลังจากที่หลวงพ่อได้รับภาระหน้าที่เจ้าอาวาสแล้วก็มุ่งมั่นที่จะบูรณะปฎิสังขรร์วัดกลางบางพระให้สามารถใช้งานได้เหมือนวัดทั่วๆไป เพราะถาวรวัตถุและสิ่งปลุกสร้างภายในวัดได้ทรุดโทรมไปตามการเวลา หลวงพ่อพุฒได้บูรณะปฎิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุขึ้นมาใหม่คือ ศาลาการเปรียญ กุฎิพระสงฆ์ เมรุ วิหาร โรงเรียนพระปริยิติธรรม หอฉัน โรงครัว พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ศาลาประชุม กำแพงวัด ซุ้มประตู ศาลาเอนกประสงค์ มณฑปพระเกศจุฬามณี ห้องน้ำ ศาลาการเปรียยหลังใหม่ กุฎิ ศาลาปฎิบัติธรรมและอุโบสถหลังใหม่ วัดกลางบางพระจึงมีความเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้